ฐานการเรียนรู้ คุณธรรมนำชีวี สร้างคนดีสู่สังคม
-
หลักการและเหตุผล
-
วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้
-
การจัดการเรียนรู้
-
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้
-
เอกสารเผยแพร่
ทุกวันนี้เด็ก ๆ และเยาวชนของไทย เรานั้น เริ่มห่างไกลจากรพระพุทธศาสนาค่อนข้างมาก เพราะมัวแต่ยึดติดกับวัตถุนิยม หรือที่เราเรียกโลกแห่งเทคโนโลยี หรือที่บางคนเรียกมันว่าโลกโซเซียลนั่นเอง เริ่มรู้สึกว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องไกลตัวหรือเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ เป็นต้น กิจกรรมฐานการเรียนรู้ “คุณธรรมนำชีวี สร้างคนดีให้สังคม” จึงได้เกิดขึ้น โดยมุ่งหวังว่าเป็นการทำให้ลูกๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองต่อ ได้รู้สึกว่าใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาหลักของชาติมากยิ่งขึ้นนั่นเอง โดยผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต่าง ๆ เช่น การนำวิชาพระพุทธศาสนา มาบูรณาการรวมกับ วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ การอบรม เรื่องคุณธรรม จริยธรรม กิริยา มารยาท จากคุณครูประจำฐานในทุกครั้งที่ ทำกิจกรรม การพานักเรียนไปร่วมทำกิจกรรมทางศาสนาที่วัดอยู่เสมอ การร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรม จิตอาสาทำความดี เพื่อ พ่อหลวง เป็นต้น
เพื่อเป็น จุดเริ่มต้น ของการร่วมกันปลูกต้นกล้าแห่งความดี ต้นเล็ก ๆ ในโรงเรียนบ้านหนองต่อ และพร้อมที่จะเติบโตไปเป็นต้นไม้ใหญ่ซึ่งจะเป็น รากฐานของการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
๑.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ให้กับนักเรียนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา และห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวงตลอดจนเพื่อเป็นการเสริมสร้าง เจตคติที่ดีให้กับนักเรียนในเรื่อง ของคุณธรรมจริยธรรม ( A )
๒. เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงคุณค่าของการทำ ความดี โดยไม่หวังผลตอบแทน การมีจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม และเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม คำสอนต่างๆ ( K )
๓. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ( P )
๔. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับนักเรียนในการเตรียมพร้อมรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีเหตุและผล
๑.นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองต่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวง ตลอดจนเป็นผู้มีเจตคติที่ดีในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
๒.นักเรียนเห็นคุณค่าของการทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน มีจิตอาสา และเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม
๓. นักเรียนสามารถนำหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
๔. นักเรียนมีภูมิคุ้มกันที่ดี พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้ อย่างมีเหตุและผล