ฐานการเรียนรู้ ผ้าปักมือสื่อภูมิปัญญาไทย

      โรงเรียนบ้านหนองต่อเป็นโรงเรียนขยายโอกาสจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งนอกจากจะจัดการศึกษาตามหลักสูตรภาคบังคับแล้ว ทางโรงเรียนคำนึงถึงบริบทความพร้อมและความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนด้วย ซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาหลายด้าน อาทิ การขาดความสนใจในด้านการเรียนวิขาการ นักเรียนที่จบการศึกษาไปแล้วขาดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เป็นต้น ทางโรงเรียนบ้านหนองต่อจึงจัดฐานการเรียนรู้ “ผ้าปักมือสื่อภูมิปัญญาไทย”ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้นักเรียนที่มีความสนใจได้พัฒนาทักษะในการทำงาน ทักษะชีวิต  การคำนวณต้นทุนผลผลิต การเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง ฝึกทำงานอย่างเป็นกระบวนการมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งนักเรียนสามารถนำทักษะต่างๆไปสู่การสร้างรายได้ระหว่างเรียน เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อสายอาชีพและเป็นการปลูกจิตสำนึกในการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคตได้ และเพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เผยแพร่ทักษะกระบวนการปักผ้าให้กับชุมชน โรงเรียนเครือข่ายและบุคคลภายนอกที่สนใจได้ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

     ๑. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการปักผ้าด้วยมือ
     ๒. เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงและเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนให้กับนักเรียน
     ๓. เพื่อเป็นทางเลือกให้นักเรียนที่มีความสนใจได้พัฒนาทักษะในการทำงาน ทักษะชีวิต มีคุณธรรมจริยธรรม ค้นพบความถนัด รู้จักอาชีพและแนวทางการศึกษาต่อที่เหมาะสมกับตนเอง
     ๔. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เผยแพร่ทักษะกระบวนการปักผ้าให้กับชุมชน โรงเรียนเครือข่ายและบุคคลภายนอกที่สนใจ  เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

     ๑. นักเรียนมีอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง ตระหนักและเห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทยรู้จักการฝึกคิดคำนวณต้นทุนผลผลิตและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย วางแผนการตลาดและสร้างเครือข่ายให้ความรู้กับชุมชนโดยยึดหลักการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
     ๒. นักเรียนได้รับการส่งเสริมด้านการฝึกสมาธิและการเรียนรู้จนเกิดทักษะชีวิต ทักษะอาชีพในการปักผ้า สามารถนำไปสู่การสร้างรายได้ระหว่างเรียนและเป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพสุจริตในอนาคตได้
     ๓. บุคลากรในสถานศึกษาสามารถเป็นวิทยากรอธิบายการใช้ประโยชน์จากฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างเสริมอุปนิสัยนิสัยอยู่อย่างพอเพียงได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
     ๔. โรงเรียนพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เผยแพร่ทักษะกระบวนการปักผ้าให้กับชุมชน โรงเรียนเครือข่ายและบุคคลภายนอกที่สนใจ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน