ฐานการเรียนรู้ เรือนเพาะรัก

      โรงเรียนบ้านหนองต่อจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 นอกจากจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรภาคบังคับโรงเรียนบ้านหนองต่อได้ให้ความสำคัญในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกคนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในทุกๆด้านโดยเฉพาะด้านสุขภาพร่างกายของนักเรียนที่ทางด้านการส่งเสริมได้ดื่มนมของโรงเรียนครบทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ได้สารอาหารที่ครบถ้วนหลากหลายโดยโรงเรียนบ้านหนองต่อจะได้รับจัดสรรงบประมาณมาจากองค์การบริหารส่วนตำบลหันคาให้สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2ถึงระดับประถมศึกษาปีที่6 สำหรับชั้นมัธยมนั้นไม่ได้รับเงินจัดสรรอาหารกลางวันทางโรงเรียนจึงได้จัดหางบประมาณดำเนินการนักเรียนได้รับประทานอาหารอย่างครบถ้วนทุกด้าน
     การจัดการเรียนรู้ในฐานการเรียนรู้ เรือนเพาะรัก เป็นแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนในด้านงบประมาณอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโดยนำผลผลิตที่ได้จากฐานส่งต่อให้โครงการอาหารกลางวันจัดทำอาหารกลางวันให้นักเรียนได้เพียงพอมากขึ้นอีกนั้นเป็นการพัฒนาทักษะในการทำงานทักษะชีวิตการคำนวณต้นทุนผลผลิตและการเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงฝึกการทำงานเป็นขบวนการมีคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียนสามารถสร้างเจตคติที่ประกอบอาชีพสุจริตในอนาคตได้  และช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถเผยแพร่ความรู้ด้านปลูกผักและเพาะเห็ดให้กับผู้ปกครองโรงเรียนเครือข่ายและผู้สนใจทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป

     ๑. เพื่อให้นักเรียนรู้วิธีการปลูกผักได้อย่างถูกต้อง
     ๒. เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาประกอบอาหาร
     ๓. เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อการเลือกประกอบอาหารที่สุจริตในอนาคตให้กับนักเรียน
     ๔. เพื่อให้บุคลากรและนักเรียนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้กับชุมชน

     ๑. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านการเกษตร ด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัย
     ๒. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการปลูกผักตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจริงภายใต้ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้
     ๓. นักเรียนเข้ามาเรียนรู้ เรือนเพาะรัก เป็นการเรียนรู้และมีความเข้าใจในเรื่องการดูแลรักษาในการปลูกผักกระทั่งได้เก็บผลผลิตเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ และได้ผลผลิตเข้าโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนทำให้ผู้เรียนได้รับอาหารที่มีคุณค่า และสามารถนำไปจำหน่ายให้กับผู้ปกครองเป็นการส่งเสริมทักษะด้านการประกอบอาชีพตลอดจนการปลูกฝังการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง